ที่อยู่ : เลขที่ 1 นาริตะ เมืองนาริตะ จังหวัดชิบะ 286-0023
โทรศัพท์: 0476-22-2111 / แฟกซ์: 0476-24-2210
การเดินทาง
จาก "สถานี Keisei Narita รถไฟ Keisei Electric Railway" หรือ "สถานี Narita รถไฟสาย JR" เดินต่ออีก 10 นาที
โดยสารรถไฟ Limited Express จากสถานี Ueno ใช้เวลาประมาณ 65 นาที และจากสถานี Narita Airport Terminal 2 ใช้เวลาประมาณ 8 นาที
หมายเหตุ: ในวันที่ 31 ธันวาคม รถไฟจะให้บริการตลอดทั้งคืน กรุณาตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ Keisei Electric Railway
จากสถานี Tokyo โดยสารรถไฟ Sobu Main Line Rapid สาย Yokosuka Line หรือสาย Sobu Line ใช้เวลาประมาณ 75 นาที
จากสถานี Narita Airport Terminal 2 ใช้เวลาประมาณ 8 นาที
จากสถานี Ueno ผ่านทางสถานี Abiko สาย Joban Line ใช้เวลาประมาณ 80 นาที
หมายเหตุ: ในวันที่ 31 ธันวาคม รถไฟจะให้บริการตลอดทั้งคืน
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2511
อุโบสถไดฮนโด (อุโบสถหลัก) เป็น
ศาสนสถานหลักสำหรับทำพิธีโกะมะคิโตซึ่งเป็นพิธีกรรมทางศาสนาที่สำคัญที่สุดของวัดนาริตะซันชินโชจิรูปเคารพขององค์ฟุโดเมียวโอประดิษฐานเป็นองค์พระประธานอยู่ภายในอุโบสถ มีเทพบริวาร
คงการะขนาบทางด้านขวาและเซทากะอยู่ทางด้านซ้ายนอกจากนี้ยังมีรูปเคารพ 4 วิทยราช ภาพศิลปะเฮเซไดมันดาลาประดับตกแต่งเอาไว้ด้วยสามารถขึ้นไปสักการะบนพระอุโบสถได้มีลิฟท์สำหรับผู้ใช้รถเข็นไว้บริการด้วย
เฮวะไดโต (มหาเจดีย์สันติภาพ) ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2527 เป็นเจดีย์ที่เป็นสัญลักษณ์ของคำสอนในศาสนาพุทธลึกลับนิกายชินงอนมีความสูงทั้งสิ้น 58 เมตร มีประตูทางเข้าบริเวณชั้น 1 เรียกว่า
เรโคเด็น เป็นที่จัดแสดงข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวความเป็นมาของวัดนาริตะ และมีจุดรับสมัครเข้ารับการเรียนรู้ของศูนย์ฝึกฝนบทสวดมนต์แต่ละประเภทอยู่ชั้น 2 คือเมียวโอเด็น เป็นที่ประดิษฐานของรูปเคารพวิทยราชทั้ง 5 รวมถึงองค์ฟุโดเมียวโอ ประดับด้วยภาพศิลปะโชวะไดมันดาลา และแผนภาพแสดงพระปรมาจารย์ของนิกายชินงอน ที่ชั้น 3 เมียวโซเด็นและชั้น 4 โฮโซเด็นเป็นจุดสำหรับบูชาพระพุทธรูปเพื่อทำพิธีปลุกเสกผูกดวง ชั้น 5 คงโกเด็นเป็นที่ประดิษฐานของรูปเคารพพระธยานิพุทธะ 5 พระองค์
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2255 ได้รับการกำหนดให้เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมที่สำคัญความสูงทั้งสิ้น 25 เมตร ภายในเจดีย์มีรูปเคารพพระธยานิพุทธะ 5 พระองค์ประดิษฐานไว้โดยมีพระไวโรจนพุทธะเป็นศูนย์กลาง บริเวณรอบๆ จะมีรูปสลักพระอรหันต์ 16 รูปล้อมรอบอยู่คานไม้แต่ละชั้นสลักเป็นลายเมฆน้ำทำจากไม้แผ่นเดียวซึ่งถือว่าเป็นศิลปะที่หาดูได้ยาก มีชื่อเรียกว่าคานไม้แผ่นเดียว
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2401 ได้รับการกำหนดให้เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมที่สำคัญในอดีตเคยถูกใช้เป็นวิหารหลัก เมื่อการก่อสร้างอุโบสถไดฮนโดเสร็จสิ้นลง ในปี พ.ศ. 2507 วิหารหลักจึงถูกย้ายมายังสถานที่ในปัจจุบันประดิษฐานรูปเคารพองค์พระโคตมะพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ 4 พระองค์คือ พระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์ พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ และพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์บริเวณรอบๆ มีรูปสลัก "พระอรหันต์ 500 รูป" โดยพระอรหันต์แต่ละรูปจะมีพระพักต์ที่มีสีหน้าและอารมณ์แตกต่างกัน มีภาพสลักจากเรื่องเล่า "24 ยอดกตัญญู" ที่ได้รับการเผยแพร่มาจากประเทศจีนสลักเอาไว้ เป็นสิ่งก่อสร้างจากไม้เซลโคว่าทั้งหลังที่เผยให้เห็นถึงศิลปะที่เป็นลักษณะเด่นของช่วงปลายยุคเอโดะเป็นสถานที่ที่ใช้ในการประกอบพิธีปัดเป่าภยันตรายสิ่งชั่วร้าย
สมบัติทางวัฒนธรรมที่สำคัญซึ่งถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2244 โบสถ์ที่ถูกสร้างขึ้นก่อนหน้าอุโบสถฉะกะโด สิ่งก่อสร้างล้ำค่าจากช่วงกลางสมัยเอโดะประดิษฐานพระไวโรจนพุทธะ องค์ไอเซ็นเมียวโอ (ราคะราชา) และองค์ฟุโดเมียวโอด้านหลังมีถ้ำโอคุโนะอินที่จะเปิดให้ชมปีละ 1 ครั้ง ในช่วงที่มีการจัดงานเทศกาลกิอง
สมบัติทางวัฒนธรรมที่สำคัญซึ่งสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2404 และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในปี พ.ศ. 2529 สถานที่สำหรับแขวนป้ายบูชาและป้ายเอมะที่ผู้มีจิตศรัทธาถวาย นอกจากนี้ยังมีป้ายเอมะ และศิลปะรูปสลักอันทรงคุณค่าที่ถูกนำมาบูชาไว้ตั้งแต่ในสมัยเอโดะหลงเหลือให้ได้ชื่นชมด้วยอีกทั้งยังมีรูปสลักหินของอิจิคาวะ ดันจูโร่ รุ่นที่ 7 ที่ได้สร้างอุโบสถไดอิจิกะคุโด (ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ไฟไหม้) จัดแสดงไว้ด้วย
หมายเหตุ : ก่อนที่อุโบสถไดอิจิกะคุโดจะได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ไฟไหม้นั้น อุโบสถกะคุโดที่เป็นอาคารหลังปัจจุบันเคยถูกเรียกว่าไดนิกะคุโด
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2265 และได้รับการบูรณะซ่อมแซมมาแล้วหลายครั้งในปี พ.ศ.2374, 2505, 2509, 2529, 2541 และ 2552 ภายในพระอุโบสถเป็นหอเก็บพระสูตรซึ่งมีพระไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์เก็บรักษาเอาไว้ (ประมาณ 2,000 เล่ม) ป้ายบูชาที่อยู่บริเวณทางเข้าเป็นงานศิลปะจากการเขียนพู่กันโดยมัตสึไดระ ซาดาโนบุ หลานของโทคุงาวะ โยชิมูเนะโชกุนรุ่นที่ 8 ของรัฐบาลโชกุนสมัยเอโดะ
เมื่อเดินไปทางซ้ายจากด้านหน้าอุโบสถไดฮนโด (อุโบสถหลัก) จะพบศาลเจ้าชุสเสะอินาริ พระประธานที่ประดิษฐานอยู่ภายในเป็นพระพุทธรูปที่ได้รับการถวายจากอินาบะ มาซามิจิ ผู้ปกครองแคว้นซากุระในสมัยเอโดะที่มีจิตศรัทธาอย่างแรงกล้าต่อวัดนาริตะซัน ศาลเจ้าชุสเสะอินาริเป็นศาลเจ้าที่ได้รับความเคารพนับถือจากผู้คนมาตั้งแต่สมัยโบราณ กล่าวกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์เรื่องโชคลาภ ธุรกิจการค้าขายเจริญรุ่งเรื่อง ช่วยให้แคล้วคลาดจากอัคคีภัย
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2535 และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในปี พ.ศ. 2550 สร้างขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อขอพรให้โลกนี้เกิดความสงบสุข ตามแนวคิดของเจ้าชายโชโตะกุ ซึ่งเป็นบิดาแห่งการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาของประเทศญี่ปุ่น ภายในมีศิลปะบนฝาผนังที่วาดโดยจิตรกรเอกจูซาคุ โอยาม่า วาดเรียงต่อกัน 6 ด้าน มีรูปเคารพของเจ้าชายโชโตะกุเป็นองค์ประธาน และมีพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ประดิษฐานอยู่ด้านหลัง
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2560 เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 1,080 ปีของการก่อตั้งวัดนาริตะซัน อาคารไม้ที่สร้างจากไม้สนฮิโนกิทั้งหลัง โดยอุโบสถที่มีหลังคาสามเหลี่มด้านเท่า 4 ด้านหลังนี้ภายในประดิษฐานรูปเคารพของพระไภษัชยคุรุไวฑูรย์พุทธเจ้า พระสุริยประภาโพธิสัตว์ พระจันทรประภาโพธิสัตว์ และสิบสองขุนพลเทพผู้พิทักษ์พระไภษัชยคุรุไวฑูรย์พุทธเจ้า เป็นสถานที่ที่ใช้ประกอบพิธีขอพรให้สุขภาพแข็งแรง อายุยืน ไร้โรคภัยไข้เจ็บ
สมบัติทางวัฒนธรรมที่สำคัญของประเทศญี่ปุ่นได้รับการบูรณะให้อยู่ในสภาพเดิมอีกครั้งในปี พ.ศ. 2374 มีรูปสลักของเทพทวารบาลมิชชะคุคองโกและนะระเอนคองโก ตั้งอยู่สองฝั่งซ้ายขวา คอยปกปักษ์อยู่บริเวณทางเข้าวัดนาริตะซันมาช้านานและยังมีจตุมหาราชโคโมะกุเท็นและทะมงเท็น ตั้งอยู่ทางด้านหลังด้วยโคมไฟใหญ่ซึ่งอยู่ตรงกลางประตูมีตัวอักษรเขียนว่า "อุโองาชิ (ตลาดที่ขายอาหารทะเล)" เป็นโคมไฟที่ได้รับการบริจาคจากกลุ่มผู้เลื่อมใสศรัทธาที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับตลาดปลาในโตเกียว
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2551 เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 1,070 ปีของการก่อตั้งวัดนาริตะซัน เป็นประตูทางเข้าหลักที่ก่อสร้างจากไม้เซลโคว่าทั้งหลังมีความสูงทั้งสิ้น 15 เมตร มีไม้แกะสลักเป็นรูปสัตว์ประจำปี 12 นักษัตรไว้ที่กรอบวงกบด้านบนที่เรียกว่าคาเอรุมาตะ ส่วนที่สูงขึ้นไปของกำแพงไม้ที่ตั้งตระหง่านน่าเกรงขามมีไม้สลักรูปพระโพธิสัตว์ประจำปีเกิดประดับอยู่ ประตูโซมงเป็นทางเข้าสู่วัดนาริตะซันจากด้านหน้าที่ตั้งเด่นสง่าคอยต้อนรับผู้มีจิตศรัทธาที่แวะเวียนมาสักการะ
อดีตอุโบสถหลักที่ก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2198 ช่วงต้นยุคเอโดะ
ที่โทคุงาวะ มิซึคุนิ และอิจิคาวะ ดันจูโร่ รุ่นแรกเคยมาสักการะ ถือเป็นอุโบสถที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันมีการปรับภูมิทัศน์ในบริเวณวัดและการบูรณปฎิสังขรณ์ภายในอุโบสถเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 1,080 ปีของการก่อตั้งวัดนาริตะซัน
โอคุโนะอิน
อุโบสถเซริวกงเก็นโด
อุโบสถไคซันโด
อุโบสถโชเท็นโด
จุดจำหน่ายเครื่องราง-จุดสมัครเข้าร่วมพิธีโกะมะ
โครินคาคุ
อุโบสถไดชิโด
อุโบสถซุยเกียวโด
อุโบสถซันโรโด
อุโบสถอามิดะโด
หอศิลป์ตัวหนังสือพู่กัน
สวนนาริตะซัน
หอสมุดพระพุทธศาสนา
ศาลาขอพรขับขี่ปลอดภัย
โชโร
ขอแนะนำวิธีพื้นฐานในการสักการะของที่วัดวิธีการที่แนะนำนี้เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น ไม่ใช่ข้อบังคับที่จำเป็นต้องปฏิบัติตามเท่านั้น
เข้ามาภายในบริเวณวัดจากด้านหน้าของประตูโซมง ตั้งแต่บริเวณตรงนี้เป็นต้นไปจะเป็นสวนขององค์ฟุโดเมียวโอ จึงควรโค้งคำนับก่อน 1 ครั้งแล้วจึงเดินเข้าไป
เมื่อลอดใต้ประตูโซมงเข้ามาจะพบกับซุ้มสำหรับล้างมือที่อยู่ทางขวามือด้านหน้าบันได หลังจากใช้กระบวยตักน้ำล้างมือซ้ายและขวาแล้ว ให้รินน้ำลงบนฝ่ามือแล้วนำไปบ้วนปาก เพื่อเป็นการชำระล้างร่างกายและปากให้สะอาดบริสุทธิ์
เมื่อลอดผ่านประตูนิโอมงและขึ้นบันไดเข้ามาจะมองเห็นอุโบสถไดฮนโด (อุโบสถหลัก) ใช้มือกวักควันจากธูปที่อยู่หน้าอุโบสถไดฮนโด (อุโบสถหลัก) ให้ลอยเข้าหาตัว เพื่อชำระล้างจิตใจให้สะอาด มีความเชื่อว่าหากอธิษฐานขอให้ร่างกายแข็งแรง หายเจ็บหายป่วยไปพร้อมๆ กับกวักควันไปที่บริเวณนั้นๆ ของร่างกาย คำขอก็จะเป็นจริง
โค้งคำนับ 1 ครั้งเมื่อเดินมาถึงหน้ากล่องรับเงินทำบุญในอุโบสถไดฮนโด (อุโบสถหลัก) หลังจากนั้นให้อธิษฐานโดยการไหว้ประนมมือทั้งสองเข้าด้วยกัน (สำหรับผู้ที่จะบริจาคเงินให้ทำหลังจากใส่เงินแล้ว) จากนั้นให้โค้งคำนับเล็กน้อย
ถอดรองเท้า และเมื่อเข้าไปภายในตัวอุโบสถแล้วให้ถอดหมวกออก หลังจากโค้งคำนับที่ด้านหน้าขององค์ฟุโดเมียวโอแล้ว ให้ประนมมือไหว้ทำความเคารพ จากนั้นให้โค้งคำนับเล็กน้อย งดส่งเสียงดังภายในอุโบสถและงดถ่ายภาพ
จุดสมัครทำพิธีโกะมะคิโตจะอยู่บริเวณซ้ายมือเมื่อหันเข้าสู่หน้าอุโบสถไดฮนโด (อุโบสถหลัก) ชั้น 1 ของโครินคาคุ และซ้ายมือฝั่งใต้ประตูนิโอมง
เลือกคำอธิษฐานที่ตรงกับที่ตนเองต้องการ กรอกชื่อลงในเอกสารแล้วทำการสมัครนอกจากนี้ยังมีจุดรับป้ายไม้บูชาที่สองฝั่งซ้ายขวา (ศาลาตะวันตกและศาลาตะวันออก) ของอุโบสถไดฮนโด (อุโบสถหลัก) และบริเวณซ้ายมือเมื่อหันเข้าสู่หน้าอุโบสถไดฮนโด (อุโบสถหลัก) ด้วย ได้รับการปกปักคุ้มครองจากองค์ฟุโดเมียวโอในทุกวัน ด้วยการพกเครื่องรางซึ่งเป็นดั่งจิตที่แยกออกมาขององค์ฟุโดเมียวโอติดตัวเอาไว้